หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
การประเมินผล
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ความก้าวหน้า งวดที่ 1
แบบทดสอบนิโคติน
 
การเสียชีวิตของคนไทยจากการสูบบุหรี่  พ.ศ.  2547
จำนวนผู้เสียชีวิตจากทุกสาเหตุ   = 441,687 คน
จำนวนผู้เสียชิวิตจากการสูุบบุหรี่ = 41,183  คน
โรคที่ทำให้เสียชีวิต
มะเร็งปอด 
9,979   คน
มะเร็งหลอดอาหาร
2,396   คน
มะเร็งชนิดอื่น ๆ   
3,944   คน
โรคถุงลมโป่งพอง                
10,427 คน
โรคปอดอื่น ๆ
2,400   คน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
7,907   คน
โรคอื่น ๆ
4,130   คน
 
ภาระโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่  พ.ศ.  2547
ชาย
หญิง
จำนวนผู้เสียชีวิต (คน)
35,390
5,793
เฉลี่ยอายุสั้นลง (ปี)
13
11
จำนวนปีที่สูญเสียเพราะอายุสั้นลงรวม
460,070
63,723
จำนวนปีที่สูญเสียเพราะป่วยจนทุพพลภาพรวม
61,630
9,377
เฉลี่ยจำนวนปีที่สูญเสียเพราะป่วยจนทุพพลภาพ
1.7
1.6

 
หลักการและเหตุผล

       ปัจจุบันการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญของประชาชนทุกคน ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพมีกิจกรรมหลายอย่าง เช่นการออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นต้น  การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างสุขภาพ  เพราะบุหรี่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมายแก่ผู้สูบ แล้วยังส่งผลกระทบไปยังบุคคลผู้ใกล้ชิดอีกด้วย ดังนั้นการประกาศการเป็น  โรงพยาบาลปลอดบุหรี่เป็นบทบาทที่สำคัญอีกด้านหนึ่งใน เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นตัวอย่างที่ดีกับประชาชนทั่วไป และ เป็นการช่วยสร้าง วัฒนธรรมไม่สูบบุหรี่ในสังคม เพราะยังมีคนจำนวนมากที่คาดหวังว่าเมื่อเห็นตัวอย่างของสังคมปลอดบุหรี่ จะสามารถหาได้จากโรงพยาบาลอย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการลดควันบุหรี่ที่เป็นอันตรายกับทุกคน


วัดถุประสงค์
    • เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรและผู้รับบริการในโรงพยาบาลด่านช้างเลิกบุหรี่ได้
    • เพื่อสร้างเครือข่ายการรณรงค์ผู้ไม่สูบบุหรี่
    เป้าหมาย
    • บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลด่านช้าง
    • ผู้ป่วย และญาติ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลด่านช้าง
    การประเมินผล
    • ร้อยละของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลด่านช้างที่สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเลิกบุหรี่ได้
    • ร้อยละของ ผู้ป่วย ผู้รับบริการในโรงพยาบาลด่านช้างที่สูบบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเลิกบุหรี่ได้
    • จำนวนบุคลากร / ผู้รับบริการ / ประชาชนทั่วไป ที่สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายผู้ไม่สูบบุหรี่
    ตัวชี้วัด
    • เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลด่านช้างสามารถเลิกบุหรี่ได้ครบ 100 %
    • ผู้ป่วย และผู้รับบริการที่โรงพยาบาลด่านช้าง สามารถเลิกบุหรี่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
    • ผู้ป่วย และผู้รับบริการที่โรงพยาบาลด่านช้างทุกราย ให้ความร่วมมือในการไม่สูบบุหรี่ ในเขต   โรงพยาบาล
    • เจ้าหน้าที่ / ผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลด่านช้าง เข้าร่วมเป็น เครือข่าย การรณรงค์ ผู้ไม่สูบบุหรี่  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    • จำนวนประชาชนในเขตอำเภอด่านช้าง ที่เข้าร่วมเป็น เครือข่าย การรณรงค์ ผู้ไม่สูบบุหรี่ 
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    • เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลด่านช้างมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เกิดโรคจากการสูบบุหรี่
    • โรงพยาบาลด่านช้าง เป็นแบบอย่างที่ดีกับประชาชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องการไม่สูบบุหรี่
    • จำนวนผู้ติดบุหรี่ / ผู้สูบรายใหม่ ในเขตอำเภอด่านช้างลดลง


Copyright © 2008 www.danchanghospital.com All rights Reserved.
Tel. 0-3559-5032, 0-3550-9433 e-mail : w_chimchang@hotmail.com